External source of fund – แหล่งทุนภายนอก
การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก สามารถสร้างประโยชน์ให้กับกิจการและตัวเจ้าของกิจการเองได้ โดยการใช้เงินทุนจากภายนอก หมายความว่ากำไรสะสมที่ได้จากการบริหารงานนั้น สามารถปันออกมาเพื่อทำประโยชน์อื่นๆ ได้นั่นเอง
แหล่งเงินทุนภายนอกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- การกู้ยืมเงินทุน (Debt Issue) คือการระดมทุนเพื่อใช้ในกิจการจากผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะอยู่ในฐานะ “เจ้าหนี้” ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและจะได้รับเงินต้นคืนตามที่ได้มีการกำหนดไว้ การกู้ยืมเงินทุนเช่น กู้ยืมเงินจากธนาคาร, การกู้ยืมเงินสาธารณะหรือ “หุ้นกู้”
ข้อดีของการจัดหาแหล่งเงินทุนด้วยวิธีการกู้ยืมเงินทุนคือ เจ้าของกิจการจะไม่ต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของบางส่วนให้แก่นักลงทุน เพราะหากสัดส่วนของการเป็นเจ้าของลดลงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง เจ้าของกิจการก็อาจจะไม่มีอำนาจในกิจการของตนเองอีกต่อไป ซึ่งรวมไปถึงการมีอำนาจควบคุมในการตัดสินใจและการดำเนินงาน
ข้อเสียของการกู้ยืมเงินทุนก็คือ ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมจะต้องจ่ายคืนบวกกับเงินต้นตามที่ตกลงกับผู้ลงทุน ซึ่งการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนที่แตกต่างกัน อัตราดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายคืนก็แตกต่างกันไป เจ้าของกิจการจึงควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย ที่หากกู้ยืมเงินจากแหล่งที่อัตราดอกเบี้ยสูงมาก เช่น การกู้นอกระบบอัตราดอกเบี้ยสามารถสูงถึง 20% ต่อปี ก็อาจจะส่งผลต่อปัญหาสภาพคล่องที่จะตามมาได้
การกู้ยืมเงิน บางครั้งอาจเป็นการขอกู้ยืมเงินจากบุคคลใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นญาติหรือเพื่อนสนิท โดยกิจการอาจจะไม่ต้องดำเนินการยุ่งยากเหมือนการขอกู้เงินจากธนาคารหรือการออกหุ้นกู้ และอาจจะตกลงจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยกว่าได้อีกด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าการกู้ยืมจากญาติ เพื่อนหรือคนรู้จักอาจทำได้ยากและไม่สะดวกเช่น เนื่องจากเป็นบุคคลใกล้ชิด การตกลงกันเกี่ยวกับการกู้ยืมและผลตอบแทนอาจจะไม่ถูกตกลงกันอย่างเป็นทางการ หรือแม้กระทั่งการแจ้งถึงบทบาทและสิทธิหน้าที่ในการเป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งปัญญาได้ในอนาคตทั้งทางกฎหมาย รวมไปถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์ วิธีการแก้ปัญหาหากต้องการใช้แห่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากบุคคลใกล้ชิด คือการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดเจน และต้องเป็นการลงความเห็นชอบต่อสัญญาของทั้ง 2 ฝ่าย
- การระดมทุนที่ต้องให้สิทธิความเป็นเจ้าของแก่นักลงทุน โดยนักลงทุนหรือผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของกิจการ” หมายความว่านักลงทุนจะมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ รวมทั้งมีโอกาสได้รับเงินปันผล (Dividend) ซึ่งขึ้นอยู่กับผลกำไรและข้อตกลงของกิจการนั้นๆ การระดมเงินทุนด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือ เจ้าของกิจการอาจจะสูญเสียอำนาจการควบคุม (Controlling Interest) บางส่วนของกิจการไป เพื่อแลกกับเงินทุนที่เอามาใช้ในกิจการ
ยกตัวอย่างการระดมทุนในรูปแบบนี้เช่น การระดมทุนในตลาดตราสารทุนหรือการระดมทุนจากการออกหุ้นสามัญ ซึ่งจะสามารถทำได้โดยบริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.)
ข้อดีของแหล่งเงินทุนนี้คือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุน
ข้อเสีย คือ สิทธิของการเป็นเจ้าของในกิจการที่จะต้องลดลง รวมไปถึงการแบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ด้วย
อีกหนึ่งตัวอย่างของการระดมทุนในแหล่งเงินรูปแบบนี้คือการหานักลงทุนมาลงทุนในธุรกิจ โดยการนำเสนอแผนธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ ผลประกอบการ ไปจนถึงแนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต โดยการนำเสนอก็จะขึ้นอยู่กับสถานะของกิจการหรือเหตุผลในการระดมทุนในครั้งนั้นๆ การระดมทุนในรูปแบบนี้เรียกว่าเป็นแหล่งเงินทุนจาก “Angel equity” เป็นการระดมทุนลักษณะ “Equity Crowd funding”นักลงทุน Angles นอกจากจะลงทุนในส่วนของเงินทุนแล้ว ยังอาจเป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถแนะนำและช่วยเหลือธุรกิจในการพัฒนาได้ นอกจากการระดมทุนจากนักลงทุนที่เรียกว่า Angels ยังมีการระดมทุนจากแหล่งเงินต่างๆ ดังนี้ Venture Capitals (VC), Corporate Venture capital(CVC)
บริษัท Start up จะเป็นที่สนใจในการลงทุนจากนักลงทุนรูปแบบนี้ เพราะมีการเติบโตที่รวดเร็ว ความแตกต่างของการระดมทุนในแต่ละแหล่งเงินจะขึ้นอยู่กับ
- จำนวนเงินที่ต้องการระดมทุน
- สถานะของธุรกิจที่เลือกตัดสินใจลงทุน
- สิทธิและหน้าที่ของนักลงทุน – การเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจของนักลงทุน
- แหล่งเงินทุนจากโครงการส่งเสริมต่างๆ ปัจจุบันทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสนใจและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ เป็นอย่างมาก ในการจัดหาแหล่งเงินทุนจากส่วนนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องหาโครงการที่สนใจในธุรกิจที่คล้ายๆกัน โครงการส่วนใหญ่เน้นการสนับสนุนความคิดใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ การได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนจากโครงการของภาคเอกชนยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมโครงการ Accelerator หรือ Incubators ต่างๆ อาจจะมีการแข่งขันเพื่อรับเงินทุนสนับสนุน หรือต้องเข้ารับการอบรมและคัดเลือกธุรกิจเพื่อรับเงินสนับสนุน การรับเงินสนับสนุน ผู้ประกอบการอาจต้องแบ่งหุ้นบางส่วนให้แก่บริษัท Accelerators หรือ Incubators ตามตกลง ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่โครงการ
ในส่วนของภาครัฐยกตัวอย่างเช่น การขอเงินทุนสนับสนุนจาก NIA สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดย NIA จะแบ่งกลไกการสนับสนุนออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่
- การสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่เงินสนับสนุนแก่บุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานวิจัย ที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับโครงการนวัตกรรม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินเกี่ยวกับการ พัฒนา, เสนอโครงการ, การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการประสานงานเพื่อนำโครงการเข้าสู่การพิจารณา
- ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม เป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงการในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม สมาคมจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด โดยการเงินสนับสนุนจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่การทำต้นแบบ การทดสอบ ไปจนถึงการผลิตในเชิงพาณิชย์
- เงินสนับสนุนนวัตกรรมแบบเปิด เป็นเงินทุนที่สนับสนุนธุรกิจในกลุ่ม SMEs และ/หรือ ธุรกิจ Startup โดยวัตถุประสงค์ของโครงการสนับสนุนคือ ผลักดันให้ธุรกิจนวัตกรรมสามารถดำเนินการได้จริง และสร้างประโยชน์เชิงพานิชได้ในอนาคต
- เงินสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม” (Managing Innovation Development Credit) หรือ “MIND CREDIT” เป็นการสนับสนุนรูปแบบใหม่ของ NIA เป็นเงินสนับสนุนเพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้บริการที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์-บริการที่มีประสิทธิภาพ
- โครงการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อสังคม เป็นเงินสนับสนุนให้กับกิจการการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เป็นโครงการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- นวัตกรรมมุ่งเป้า (Thematic Innovation) เป็นโครงการสนับสนุนนวัตกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมหรือระดับประเทศ โดยเป็นการมุ่งเป้าการพัฒนาอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง อุตสาหกรรมที่โครงการสนับสนุนประกอบด้วย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, ธุรกิจที่ใช้อากาศยานไร้คนขับ, อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of things), ธุรกิจนวัตกรรมอาหารเพื่อสังคมเมือง
- SUP Board กิจกรรมสุด Cool แห่งปี 2021 หนีโควิด
- โรคระบาดลุกลาม สร้างแรงบันดาลใจในงาน Paris Fashion Week
การเข้ารับการพิจารณาเงินสนับสนุนจาก NIA ในแต่ละกลไก มีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยเงินสนับสนุนที่ได้จาก NIA จะเป็นเงินสนับสนุนที่ให้เปล่า หมายความว่ากิจการจะไม่ต้องแบ่งหุ้นให้แก่ NIA แต่จะต้องยื่นเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์ต่างๆ แล้วแต่โครงการที่ยื่นขอเงินสนับสนุน นอกจากเงินสนับสนุนจาก NIA แล้ว ยังมีโครงการสนับสนุนโดยภาครัฐอีกเช่น โครงการสนับสนุน ITAP หรือโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นต้น
ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ ibrahimalhenaki.com อัพเดตทุกสัปดาห์